MERZARTSPACE

11.11.2552

นิทรรการ สุขแล้วร่ำลา เอาความเชื่อ เงากว้างเจ็ด






ART4D : รีวิวนิทรรศการ น้ำ ฝน ปลาย เดือน


วันเปิดนิทรรศการ น้ำ ฝน ปลาย เดือน


มติชนรายวัน :น้ำ ฝน ปลาย เดือน นิทรรศการเปิดตัวแกลอรี่ จาก 4 ศิลปินสาว(สวย)

"น้ำ ฝน ปลาย เดือน" นิทรรศการเปิดตัวแกลอรี่ จาก 4 ศิลปินสาว (สวย)
โดย เชตวัน เตือประโคน

จอดรถที่วัดตรีทศเทพวรวิหาร เดินเลียบเลาะไปตามฟุตปาธฝั่งเดียวกับวัด มุ่งตรงเข้าหาสะพานเฉลิมวันชาติ สังเกตห้องแถวที่เรียงรายอยู่ทางขวามือ ประตูทาสีแดงสดใสนั่นแหละใช่เลย! - "MERZ Art Space" และ "สรวลเสเฮบาร์"

ทั้ง 2 สิ่งดำรงอยู่ในห้องคูหาเดียวกันอย่างกลม กลืน...

"MERZ Art Space" เป็นแกลอรี่แสดงนิทรรศการอยู่ชั้นบน ส่วน "สรวลเสเฮบาร์" เป็นร้านอาหาร สำหรับนั่งฟังเพลงในบรรยากาศสบายๆ อยู่ชั้นล่าง

ละเรื่องแกลอรี่ และร้านอาหารไว้ เพราะสิ่งที่กำลังจะพูดถึงในพื้นที่นี้คือ เรื่องงานนิทรรศกาลศิลปะที่ชื่อ น้ำ ฝน ปลาย เดือน ผลงานของ 4 ศิลปินสาว(สวย) จากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหา วิทยาลัยศิลปากร อันประกอบด้วย น้ำ-จิตมณี จงวิทูกิจ, ฝน-น้ำฝน อุดมเลิศลักษณ์, ปลาย-ยอดฉัตร บุพศิริ และ เดือน-บุษราพร ทองชัยเป็นการแสดงงานศิลปะของศิลปินหญิงในหลากหลายมุมมอง

โดยมีกำหนดจัดแสดงตั้งแต่วันนี้-15 กันยายนนี้มีโอกาสได้ไปชมงานนิทรรศการ ได้พบและพูดคุยกับทั้ง 4 สาว

เริ่มต้นที่ น้ำ-จิตมณี ที่นำผลงานถักทอ 4 ชิ้น และดรออิ้งภาพนู้ดอีก 6 ชิ้น มาจัดแสดงให้ผู้เข้าชมงานได้รู้สึก อึ้ง ทึ่ง เสียวกับงานโดดเด่นของเธอที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดอย่างงานถักทอนั้น

จิตมณีบอกว่า เริ่มต้นจากการเห็นคนอื่นถักลูกไม้ลวดลายต่างๆ จึงคิดอยากเอาวิธีการนี้มาใช้ในการทำงานศิลปะบ้าง ตัวเองไม่เคยปักครอสสติทช์ หรือถักโครเชต์มาก่อน ก็ลองถามญาติๆ ดู ซึ่งทุกคนก็บอกว่าไม่ยาก จึงได้เริ่มต้นทำ ซึ่งก็มาพร้อมๆ กับความคิดที่อยากสื่อเรื่องความห่วงใยของพ่อแม่ กับชีวิตของเด็กคนหนึ่งที่รู้สึกว่าพ่อแม่เป็นห่วงมากๆ วิธีการทำงานอย่างถักทอนี้ เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับสิ่งที่เราต้องการสื่อพอดี เพราะเป็นเหมือนสายใย เหมือนความผูกพันที่ถักทอก่อรูปร่างขึ้นเรื่อยๆ โดยตัวเองมีภาพที่ถ่ายกับพ่อและแม่ในวัยเด็กเป็นต้นแบบในการทำงานชิ้นนี้

และงานอีกชิ้นหนึ่ง ชื่อ "Innocent" ซึ่งจิตมณีมีโอกาสได้แสดงในงานวันเอดส์โลก ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปนเธอบอกว่า เด็กทารกที่เกิดมาและติดเชื้อเอชไอวีจากพ่อแม่ เป็นสิ่งที่สะเทือนใจมาก เพราะเขาไม่รู้อีโหน่อีเหน่เลย แต่จู่ๆ ก็ต้องมาได้รับเชื้อด้วย จึงอยากสื่อภาพเด็กนี้ด้วยงานถักทอ โดยใช้เส้นด้ายสีแดงที่ดูเหมือนเลือด ค่อยๆ ถัก ค่อยๆ ทอทีละนิด จนในที่สุดก็เป็นภาพเด็กทารกคนหนึ่งที่นอนหงาย มีสายสะดือห้อยติดอยู่ด้วย"

รู้สึกว่างานถักทอนั้นเป็นอะไรที่เงียบ สงบ เป็นสัญลักษณ์ของความละเอียด เปราะบาง ซึ่งตรงกับความตั้งใจของตัวเองที่เวลาอยากจะสื่ออะไร ไม่ชอบใช้การตะโกนออกมาดังๆ หรือทำอะไรใหญ่โต อยากบอกเบาๆ ทำสิ่งเล็กๆ อ่อนบาง อยากให้คนได้เข้ามามองใกล้ๆ" จิตมณีกล่าว และว่า วันนี้ก็ยังพยายามทำงานในแบบที่เป็นตัวของตัวเอง แสดงออกในสิ่งที่ตัวเองเป็น เพราะคนเราคือผลผลิตของสังคมที่เราอยู่

ด้าน ฝน-น้ำฝน มาพร้อมกับงานที่เป็นประเด็นใหญ่ซึ่งเป็นที่พูดถึงในวงกว้าง อย่างเรื่อง "บริโภคนิยม" และ "การศึกษา" เริ่มจากแบบเรียนเสียดสีบริโภคนิยมทั้งแบบหัดอ่านภาษาอังกฤษ A-Z และแบบหัดอ่าน ก.กุชชี่ นำเสนอความหมายที่สังคมวันนี้รับรู้กันดี และเหมือนจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเราไปเสียแล้ว อย่าง ก.กุชชี่, ป.ปราด้า หรือ ฒ.ฒิมเบอร์แลนด์ ปรากฏอยู่ในโปสเตอร์แบบเรียนและหนังสือแบบเรียน

บางคนเห็นแล้วอาจอยากหยิกเธอเบาๆ โทษฐานที่ดันมาเหน็บแนมได้เจ็บแสบเหลือเกินงานชิ้นนี้จะเห็นได้ถึงความเพียรพยายามของศิลปินในการหาข้อมูล เพื่อรองรับรูปแบบที่เหมือนจะเป็นเสาหลักอันมั่นคง และอีกชิ้นหนึ่งที่ศิลปินสาวจัดทำขึ้นมาเสียดสี "ระบบการศึกษา" แม้จะเป็นภาพถ่ายเด็กนักเรียน-ครู ธรรมดาๆ แต่ว่าที่มาผิดที่ผิดทางอยู่นั้นคือ ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ยักษ์ เด็กทุกคนซึ่งหน้าตาเหมือนกันหมด (ระบบการศึกษาหล่อหลอมให้เราต้องคิดเหมือนกันจนเป็นคนคนเดียวกันหรือเปล่า- ไม่แน่ใจ?) ยืนเคารพธงชาติอยู่หน้าห้างสรรพสินค้า

ถัดมาเป็นภาพในห้องเรียนคือ ห้างสรรพสินค้า และมีการแย่งชิงสินค้าอย่างกระเป๋าแบรนด์เนมยี่ห้อหนึ่งของบรรดานักเรียนที่หน้าตาเหมือนกันเหล่านั้นนี่คือสิ่งที่ดำรงอยู่กับเราในปัจจุบัน (ห้ามปฏิเสธ)

สำหรับ ปลาย-ยอดฉัตร อีกด้านหนึ่งที่คนรับรู้ เธอคือกวีสาว เจ้าของกลอนเปล่าสำนวนกินใจ มีผลงานตีพิมพ์ใน "มติชนสุดสัปดาห์" อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งงานของเธอที่นำมาจัดแสดงครั้งนี้ ก็ยังคงยึดโยงอยู่กับ "บทกวี" ที่เธอรัก

เพราะงานทั้ง 2 ชุด อย่าง The Promise Land และ เธอพลัดหลงในความทรงจำ นั้น เป็นการตีความบทกวีให้เป็นภาพ ด้วยเทคนิคสีน้ำบนกระดาษ ยอดฉัตรเล่าให้ฟังว่า เริ่มต้นจากความรู้สึกประทับใจบทกวีของคนอื่น จนอยากเขียนภาพออกมาให้เป็นการตีความด้วยตัวเอง

แต่พอเริ่มทำงาน ก็ได้พบสิ่งที่แตกต่างกันระหว่างบทกวีกับภาพ เพราะในบทกวีนั้นมีหลายแบบหลายอารมณ์ ทั้งดุดัน พลุ่งพล่าน เป็นแรงบันดาลใจแบบฉับพลันของกวี แต่ในภาพที่เขียน แม้จะมาจากบทกวีชิ้นเดียวกันแต่กลับไม่มีอารมณ์เหล่านั้นปรากฏให้เห็น อาจด้วยกระบวนการสร้างงานที่ช้ากว่า จึงทำให้ไม่มีอารมณ์ดังกล่าวติดมาด้วย และเป็นความจงใจของตัวเองด้วยที่จะไม่ให้มีเข้ามา เพราะอยากทำงานที่อ่อนหวาน เบาบาง สดใส ชอบใช้เส้นที่ให้ความรู้สึกอิสระ

น่าสนใจว่า ระหว่างคนที่เคยอ่านกับไม่เคยอ่านบทกวีที่ยอดฉัตรให้ภาพ ความรู้สึกจะแตกต่างกันอย่างไร?จากประสบการณ์ตรง ศิลปินสาวบอกว่า คนที่ไม่เคยอ่านบทกวีมาก่อน เวลาดูภาพ อาจมีบางสิ่งที่เชื่อมโยงกับผู้เขียนภาพว่า ใช้สัญลักษณ์อะไร และตีความต่างจากกวีอย่างไร ซึ่งเขาจะได้รู้ตรงส่วนนี้ แต่สำหรับคนที่ไม่เคยอ่านบทกวีชิ้นนั้นมาก่อน เชื่อว่าจะเข้าถึงภาพได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะง่ายกว่าคำในกวีนิพนธ์ที่ต้องอาศัยประสบการณ์ระดับหนึ่ง

"สำหรับงานชุดนี้ เป็นความตั้งใจของตัวเองที่อยากจะทำให้คนที่ไม่เคยสนใจบทกวีเลย ได้ลองหันมาสนใจบ้าง เป็นการดูภาพ และอ่านบทกวีไปพร้อมๆ กัน" ยอดฉัตรกล่าว

สำหรับศิลปินสาวคนสุดท้าย เดือน-บุษราพร เธอมาพร้อมกับงานดรออิ้ง เครยองบนกระดาษขนาดใหญ่ 3 ชิ้น ซึ่งเป็นภาพผู้หญิงที่กำลังจ้องมองผู้ชมด้วยแววตาครุ่นคิดสงสัย บุษราพรอธิบายว่า ที่เป็นภาพผู้หญิงหมดเลย เพราะเกิดความสงสัยในตัวเองว่า ทำไมเราต้องเป็นแบบนี้? ทำไมมีลักษณะนิสัยแบบนี้? แล้วเราสามารถทำในสิ่งที่ผู้ชายทำได้ไหม?

เป็นการตั้งคำถามกับเพศสภาพ โดยอีกด้านหนึ่งก็มีคำตอบว่า สังคมได้ทำให้เราเป็นผู้หญิงไปเรียบร้อยแล้ว

"เป็นผู้หญิงต้องมีมารยาทเรียบร้อย ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ก็จะถูกมองอีกแบบ แล้วทำไมสิ่งนี้ผู้ชายทำได้แต่ผู้หญิงทำไม่ได้ รูปที่เขียนออกมาจึงเป็นรูปของผู้หญิงที่ออกจะสงสัยหน่อยๆ"

"ที่เลือกใช้การดรออิ้ง เพราะเป็นงานที่สามารถแสดงออกอย่างฉับพลันและรวดเร็ว แต่งานทุกชิ้นที่ทำ จะใช้ความรู้สึกของตัวเองมาเป็นลำดับแรกก่อน ส่วนเรื่องรูปแบบและวิธีการนั้นตามมาทีหลัง"

บุษราพรกล่าวพร้อมรอยยิ้มเธอพูดถึงนิทรรศการครั้งนี้ว่า สิ่งที่เป็นเอกภาพในการจัดแสดงงานของศิลปินทั้ง 4 คนนั้น คือ ความหลากหลายของแต่ละคน ศิลปินทั้ง 4 มีประเด็นที่ต้องการนำเสนอไม่เหมือนกัน แตกต่างกันไปตามความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคน แต่ที่เหมือนกันนั้นคือ ความคิดที่ว่าตัวเองก็ทำได้ไม่แตกต่างจากผู้ชาย เมื่อก่อนพื้นที่แสดงงานสำหรับผู้หญิงมีน้อย

แต่วันนี้ เมื่อสังคมเปิดกว้างขึ้น ผลงานของศิลปินหญิงจึงเป็นสิ่งที่น่าจับตาเช่นเดียวกับนิทรรศการครั้งนี้ "น้ำ ฝน ปลาย เดือน" แต่โปรดมองที่งานมากกว่าเพศสภาพ!


ความในใจของเจ้าของ"แกลอรี่"หนุ่ม ชล เจนประภาพันธ์

"น้ำ ฝน ปลาย เดือน" เป็นชื่องานของนิทรรศการเปิดตัวของ "MERZ Art Space" ซึ่งเป็นโครงการในฐานะพื้นที่ทางศิลปะสำหรับศิลปินรุ่นใหม่ๆ กับการเปิดตัวด้วย 4 ศิลปินสาว(สวย) จากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่แม้จะมาจากสถาบันเดียวกัน แต่แนวทางการสร้างสรรค์ผลงานกลับมีความหลากหลาย

นิทรรศการนี้ สิ่งเดียวที่ดูจะมีเอกภาพมากที่สุดคงจะเป็นชื่อนิทรรศการ ซึ่งออกจะหวานแหวว และอาจทำให้บางคนเผลอคิดไปว่าเป็น กลุ่มศิลปินหญิงที่ทำงานได้สมกับที่เป็น "ผู้หญิง" ทว่าเราอาจมองข้ามไป และไม่ได้มองหาถึงความเป็น "ผู้หญิง" ที่ทำงานศิลปะได้สมกับที่เป็น "ศิลปิน" ดังนั้น ทุกๆ ครั้ง เมื่อผมได้ชมงานของศิลปิน "ผู้หญิง" สิ่งแรกที่ผมจะมองหา คือ ความเป็น "ศิลปิน" และหลังจากนั้น "ความเป็นผู้หญิง" จึงมักจะปรากฏ และทำให้ผมรู้สึกแปลกใหม่ ทางด้านมุมมอง ความคิดเสมอ

นิทรรศการนี้จึงอยากจะเปิดให้ผู้ชมได้เห็นนานาทรรศนะของ "ผู้หญิง" ที่มีมุมมองต่อความเป็นเพศ สังคม ความรัก ฯลฯ โดยในเนื้อหาเดียวกันนี้ ศิลปินชายส่วนใหญ่ก็มักจะพูดถึง และจริงจังทั้งด้านเนื้อหา การนำเสนออยู่แล้ว แต่บางครั้งความ "จริงจัง" ในแบบผู้หญิงอาจจะถูกมองข้าม เพียงเพราะเป็น การแสดงออกโดยขาด "น้ำเสียงที่รุนแรง" หากเรามองข้ามนิยามเกี่ยวกับความรุนแรงแบบเดิม และลองสัมผัส "ความรุนแรง" ในแบบผู้หญิง ซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่เป็นไปอย่างโผงผาง จนถึงขั้นที่ต้องมีสิ่งใดล้มตาย แต่มักจะ "บาด" จนอาจทำให้ "เจ็บ" อยู่ในความรู้สึกเสมอ

"น้ำ ฝน ปลาย เดือน" จึงเป็นนิทรรศการแรก ตามเจตนารมณ์ของ "Merz" (ที่ไปพ้องเสียงกับ merge) ซึ่งอยากให้เป็นการนำมารวมกัน แม้จะเป็นสิ่งที่ต่าง หรือขัดแย้งกันเพียงไร "จุดร่วม" ก็ยังเป็นสิ่งที่หาได้ไม่ยากท่ามกลางความต่าง นัยยะหนึ่ง การทำลาย ถอดรูปความหมาย และสร้างขึ้นใหม่ในแบบฉบับของ " Merz" เป็นแนวคิดที่อยากให้พื้นที่การนำเสนอศิลปะในพื้นที่เฉพาะ สามารถเกิดความยืดหยุ่นได้ในบางประการ เช่นเดียวกับที่นี่ ที่สามารถเป็นได้ทั้งที่พักผ่อนสังสรรค์ ที่ฟังเพลง ที่ประชุม ที่ชมงานศิลปะ ที่จัดเสวนาขนาดย่อม และที่ที่จุดประกายสร้างสรรค์ให้กับศิลปินรุ่นใหม่ๆ และผู้ที่สนใจศิลปะ ความผสมปนเปที่แม้จะผิดกฎ แต่ยังอยู่ในความเป็นไปได้ เพราะสุดท้าย "Merz" ก็เป็นเพียงชื่อเรียกพื้นที่ว่างหนึ่ง ซึ่งพร้อมที่จะหาย หรือเกิดใหม่ได้อยู่เสมอ

หน้า 20

wake Up magazine : น้ำ ฝน ปลาย เดือน ศิลปะจากเสียงของผู้หญิง

ตีพิมพ์ใน Wake Up magazine ฉบับเดือนสิงหาคม 2552

น้ำ ฝน ปลาย เดือน
ฟังจากชื่อนิทรรศการแล้วหลายคน คงอดคิดไม่ได้ว่านี่คืองานแสดงผลงานศิลปะน่ารักๆ ของศิลปินตามฤดูกาล หากแต่เมื่อได้มาสัมผัสและพิจารณางานศิลปะแต่ละชิ้นแล้ว จึงรู้ว่าน้ำเสียงของผู้หญิงที่อาจไม่โผงผาง ดุดัน นั้นก็สามารถสร้างแรงกระทบอย่างเฉียบขาดและบาดลึก โดยเฉพาะเมื่อเสียงของพวกเธอนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับความเป็นเพศ ความสัมพันธ์และความรัก

นิทรรศการ น้ำ ฝน ปลาย เดือน เป็นนิทรรศการศิลปะจากศิลปินหญิงรุ่นใหม่ ที่นำเสนอผลงานด้วยน้ำเสียงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ โดดเด่นและแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เป็นความผสมปนเปที่แม้จะผิดกฏ หากแต่ยังอยู่ในความเป็นไปได้ เพราะแม้กระทั่งชื่อนิทรรศการก็เป็นเพียงการนำชื่อของศิลปินมารวมกัน หากแต่สามารถผสานกันได้อย่างลงตัว
ในนิทรรศการนี้คุณจะได้พบกับความประณีต จากงานศิลปะของ ‘น้ำ’ จิตมณี จงวิทูกิจ ที่แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกภายในที่เปราะบางและอ่อนไหวในแบบของหญิงสาวในภาวะที่ก้ำกึ่งระหว่างความจริง ความฝันและความต้องการ ผ่านการร้อยเรียงด้วยเส้นด้ายหรือไหมพรมทีละเส้นจนกลายเป็นภาพที่ดูราวกับเป็นเครือข่ายโยงใยของความรู้สึก
จากความละเอียดอ่อน คุณจะทึ่งกับแบบเรียนเสียดสีสังคมบริโภคนิยมที่เริ่มต้นด้วย ก. กุชชี่ ไปจนถึง ป.ปราด้า ฒ.ฒิมเบอร์แลนด์ ที่นำเสนอโดย ‘ฝน’ น้ำฝน อุดมเลิศลักษณ์ น้องคนเล็กสุดของกลุ่มที่นำเสนอประเด็นใหญ่ โดยการนำเอาสถาบันการศึกษา ห้างสรรพสินค้า แบบเรียนและสินค้าแบรนด์เนมมานำเสนออย่างมีวาระซ่อนเร้น
ตามมาด้วยผลงานศิลปะที่เกิดจากการผสมผสานระหว่าง ‘ภาพ’ และ ‘ภาษา’ โดย ‘ปลาย’ ยอดฉัตร บุพศิริ ศิลปินและกวีสาวผู้พลัดหลงไปในอาณาจักรของภาพและคำอันไพศาล ที่ทำให้เธอพบว่าบางครั้งการลัดเลาะไปตามความไหลหลากของถ้อยคำ ได้นำไปสู่ภาพที่กระจ่างชัด และบางครั้งเส้นสายที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นกลับซุกซ่อนจังหวะ และความหมายละม้ายบทกวี
สุดท้ายเราจะพบกับผลงานวาดเส้นที่เต็มไปด้วยร่องรอยของความบิดเบี้ยวที่ลากผ่านสรีระของเพศหญิง สะท้อนมุมมองผ่านเรือนร่างที่อยู่ภายใต้วาทกรรมของเพศหญิงโดย ’เดือน’ บุษราพร ทองชัย ศิลปินหญิงที่ตั้งคำถามผ่านงานศิลปะว่า “แท้จริงแล้วอะไรที่สร้างและสถาปนาความเป็นเพศให้กับเราซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกระทั้งเราเชื่อโดยสนิทใจว่า สิ่งสร้างนั้นคือความดีงาม ความถูกต้องหรือความปกติอย่างที่สุด”
ดังนั้นในนิทรรศการนี้ผู้ชมจะได้เห็นนานาทัศนะของผู้หญิงด้วยน้ำเสียงที่อาจจะไม่โผงผางเท่าศิลปินที่เป็นผู้ชาย หากแต่ก็เป็นน้ำเสียงที่มีความซับซ้อน ทั้งอ่อนหวาน ช่างประชดประชัด จริงจังและอาจจะบาดลึกในความรู้สึก จึงน่าสนใจอย่างยิ่งหากคุณเป็น ‘ผู้หญิง’ และแม้ว่าคุณจะ ‘ไม่ได้เป็นผู้หญิง’ ก็ตาม
เพราะอย่างน้อยที่สุดเราอยากให้คุณลองมาฟังว่า ‘น้ำเสียง’ ของพวกเธอจะทำให้คุณรู้สึกอย่างไร

นิทรรศการ น้ำ ฝน ปลาย เดือน เปิดแสดงทุกวัน จันทร์-เสาร์ เวลา 10.00 -24.00 น. อาทิตย์ 10.00-18.00 น. ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 15 กันยายน 2552 ที่ Merz Art Space (ใกล้อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-6290854

นิทรรศการ น้ำ ฝน ปลาย เดือน : ชล เจนประภาพันธ์

31 กรกฏาคม 2552 - 15 กันยายน 2552


โดย น้ำฝน อุดมเลิศลักษณ์, จิตมณี จงวิทูกิจ,
ยอดฉัตร บุพศิริ และบุษราพร ทองชัย

ฟังจากชื่อนิทรรศการแล้วหลายคนคงอดคิดไม่ได้ว่านี่คือผลงานศิลปะน่ารัก ๆ ของศิลปินตามฤดูกาล แม้จะร้อนบ้าง ฝนบ้าง ในบาร์เล็ก ๆ แห่งนี้ หลายคนก็ตั้งตารอการเปิดตัวอีกครั้งของ “สรวลเสฯ” ซึ่งส่วนใหญ่จะคุ้นกับชื่อนี้อยู่แล้วในฐานะบาร์ที่เปิดบ้างปิดบ้าง (ซึ่งส่วนใหญ่จะปิด) ในรอบปีที่ผ่านมา

กลับมาครั้งนี้ “MERZ Art Space” ซึ่งเป็นโปรเจคส่วนตัวของผมจึงได้เข้ามาแฝงตัวในฐานะโครงการที่โหยหาพื้นที่ทางศิลปะสำหรับศิลปินรุ่นใหม่ ๆ กับการเปิดตัวด้วยสี่ศิลปินสาวที่มาพร้อมกับชื่อนิทรรศการแสนโรแมนติค แต่อย่าพึ่งหลงเข้าใจผิด เพราะชื่อนิทรรศการนั้นเป็นเพียงชื่อของทั้งสี่ศิลปิน แม้จะจบจากคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากรเหมือนกัน แต่แนวทางการสร้างสรรค์ผลงานกลับมีความหลากหลาย ทว่าทัศนะคติที่นำเสนอผ่านผลงานศิลปะของทั้งสี่ ยังคงความเป็นผู้หญิงอยู่ครบถ้วน

ซึ่งจะว่าไปแล้วในวงการศิลปะร่วมสมัย บางครั้งเราพบว่าการไม่ให้อภิสิทธิ์กับศิลปินผู้หญิงเลยก็ดูจะลำเอียงเกินไป แต่การเว้นช่องว่างให้อภิสิทธ์กับศิลปินหญิงอาจเป็นดาบสองคมที่น่ากลัวมากกว่า เมื่อการวิพากษ์วิจารณ์ศิลปินหญิงในบางกรณีกลายเป็นข้อยกเว้นเมื่อถูกมองว่า เป็นผู้หญิงที่ทำงานศิลปะได้ “เหมาะสม” กับที่เป็น “ผู้หญิง”

ดังนั้น นิทรรศการนี้สิ่งเดียวที่ดูจะมีเอกภาพมากที่สุดคงจะเป็นชื่อนิทรรศการเสียมากกว่า ซึ่งออกจะหวานแหวว และอาจทำให้บางคนเผลอคิดไปว่าเป็นกลุ่มศิลปินหญิงที่ทำงานได้สมกับที่เป็น “ผู้หญิง” ทว่าเราอาจมองข้ามไป และไม่ได้มองหาถึงความเป็น “ผู้หญิง” ที่ทำงานศิลปะได้สมกับที่เป็น “ศิลปิน” ดังนั้น ทุก ๆ ครั้งเมื่อผมได้ชมงานของศิลปิน “ผู้หญิง” สิ่งแรกที่ผมจะมองหา คือความเป็น “ศิลปิน” และหลังจากนั้น “ความเป็นผู้หญิง” จึงมักจะปรากฎ และทำให้ผมรู้สึกแปลกใหม่ ทางด้านมุมมอง ความคิด เสมอ

นิทรรศการนี้จึงอยากจะเปิดให้ผู้ชมได้เห็นนานาทัศนะของ “ผู้หญิง” ที่มีมุมมองต่อความเป็นเพศ สังคม ความรัก ฯลฯ โดยในเนื้อหาเดียวกันนี้ ศิลปินชายส่วนใหญ่ก็มักจะพูดถึง และจริงจังทั้งด้านเนื้อหา การนำเสนออยู่แล้ว แต่บางครั้งความ “จริงจัง” ในแบบผู้หญิงอาจจะถูกมองข้าม เพียงเพราะเป็นการแสดงออกโดยขาด “น้ำเสียงที่รุนแรง” หากเรามองข้ามนิยามเกี่ยวกับความรุนแรงแบบเดิม และลองสัมผัส “ความรุนแรง” ในแบบผู้หญิง ซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่เป็นไปอย่างโผงผาง จนถึงขั้นที่ต้องมีสิ่งใดล้มตาย แต่มักจะ “บาด” จนอาจทำให้ “เจ็บ” อยู่ในความรู้สึกเสมอ

“น้ำฝนปลายเดือน” จึงเป็นนิทรรศการแรก ตามเจตนารมณ์ของ “Merz” (ที่ไปพ้องเสียงกับ merge ) ก็อยากให้เป็นการนำมารวมกัน แม้จะเป็นสิ่งที่ต่าง หรือขัดแย้งกันเพียงไร “จุดร่วม” ก็ยังเป็นสิ่งที่หาได้ไม่ยากท่ามกลางความต่าง นัยยะหนึ่ง การทำลาย ถอดรูปความหมาย และสร้างขึ้นใหม่ในแบบฉบับของ “Merz” เป็นแนวคิดที่อยากให้พื้นที่การนำเสนอศิลปะในในพื้นที่เฉพาะ สามารถเกิดความยืดหยุ่นได้ในบางประการ เช่นเดียวกับที่นี่ ที่สามารถเป็นได้ทั้งที่พักผ่อนสังสรรค์ ที่ฟังเพลง ที่ประชุม ที่ชมงานศิลปะ ที่จัดเสวนาขนาดย่อม และที่ที่จุดประกายสร้างสรรค์ให้กับศิลปินรุ่นใหม่ ๆ และผู้ที่สนใจศิลปะ ความผสมปนเปที่แม้จะผิดกฏ แต่ยังอยู่ในความเป็นไปได้ เพราะสุดท้าย “Merz” ก็เป็นเพียงชื่อเรียกพื้นที่ว่างหนึ่ง ซึ่งพร้อมที่จะหาย หรือเกิดใหม่ได้อยู่เสมอ

ชล เจนประภาพันธ์

นิทรรศการ น้ำ ฝน ปลาย เดือน: แนวคิด รู้จักศิลปิน



นิทรรศการนี้อยากจะเปิดให้ผู้ชมได้เห็นนานาทัศนะของ “ผู้หญิง” ที่มีมุมมองต่อความเป็นเพศ สังคม ความรัก ฯลฯ

โดยในเนื้อหาเดียวกันนี้ ศิลปินชายส่วนใหญ่ก็มักจะพูดถึง และจริงจังทั้งด้านเนื้อหา การนำเสนออยู่แล้ว

แต่บางครั้งความ “จริงจัง” ในแบบผู้หญิงอาจจะถูกมองข้าม เพียงเพราะเป็นการแสดงออกโดยขาด “น้ำเสียงที่รุนแรง”

หากเรามองข้ามนิยามเกี่ยวกับความรุนแรงแบบเดิม และลองสัมผัส “ความรุนแรง” ในแบบผู้หญิง ซึ่งแน่นอนว่า

ย่อมไม่เป็นไปอย่างโผงผาง จนถึงขั้นที่ต้องมีสิ่งใดล้มตาย แต่มักจะ “บาด” จนอาจทำให้ “เจ็บ” อยู่ในความรู้สึกเสมอ


(คลิ๊กที่ภาพเพื่ออ่านรายละเอียดแนวคิดและรู้จักศิลปิน)

นิทรรศการศิลปะ น้ำ ฝน ปลาย เดือน
31 กรกฏาคม - 15 กันยายน 2552